กำลังพล งป.66

สถานีวัดความสั่นสะเทือน กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ

สถานีวัดความสั่นสะเทือน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหน่วยขึ้นตรง กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สถาปนาหน่วย เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2519

สถานีวัดความสั่นสะเทือน จังหวัดเชียงใหม่ มีภารกิจในการเฝ้าตรวจคลื่นความสั่นสะเทือนใต้พิภพ เพื่อวิเคราะห์หาตำบลที่ เวลาเกิด และขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหว โดยได้มีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษาและสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ นอกจากนั้น ยังมีภารกิจในการเฝ้าตรวจจับการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ตามสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองระเบิดนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Comprehensive nuclear – Test – Ban Treaty : CTBT)

นอกจากนั้น สถานีวัดความสั่นสะเทือน กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ยังมีบทบาทที่สำคัญในการเฝ้าตรวจเพื่อเฝ้าระวัง ในระบบเตือนภัยสึนามิของกองทัพเรือ โดยหากตรวจพบว่ามีความสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวมากกว่า 7.0 ริคเตอร์ ทางสถานีจะรีบดำเนินการแจ้งให้สถานีวัดระดับน้ำที่เกาะเมียง ซึ่งตั้งอยู่ในฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณหมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา ให้ดำเนินการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำจากเครื่องวัดระดับน้ำ

รวมถึงแจ้งให้ กรมอุทกศาสตร์ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือ และศูนย์ปฏิบัติการทัพเรือภาคที่ 3 เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยหากพบว่าระดับน้ำจากเครื่องวัดมีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ ศูนย์ปฏิบัติการทัพเรือภาคที่ 3 และกรมอุทกศาสตร์ จะทำการตรวจสอบและหากมั่นใจว่าจะเกิดคลื่นสึนามิ จะได้ทำการแจ้งเตือนให้หน่วยต่างๆ ในกองทัพเรือ รวมถึงพี่น้องประชาชนทราบต่อไป 

สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายเวลา สถานที่ และความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นจึงควรศึกษา เรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการเกิดของแผ่นดินไหวที่แท้จริง เพื่อเป็นแนวทางในการลดความเสียหายที่เกิดขึ้น

แผ่นดินไหวตามธรรมชาติ

แผ่นดินไหวจากธรรมชาติเป็นธรณีภัยพิบัติชนิดหนึ่ง ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่จะเกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน เนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความร้อน ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับความสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ (ดู การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก) แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยในบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค (lithosphere) เรียกแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น(interplate earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า แผ่นดินไหวภายในแผ่น (intraplate earthquake)

ผลการปฏิบัติงานในรอบ 6 เดือน ที่ผ่านมา ตั้งแต่ เม.ย.66 - ต.ค.66

สามารถตรวจจับแผ่นดินไหวในประเทศ ที่มีขนาด 3.0 ขึ้นไป ได้ จำนวน 6 ครั้ง

ผลการปฏิบัติงานในรอบ 6 เดือน ที่ผ่านมา ตั้งแต่ เม.ย.66 - ต.ค.66

สามารถตรวจจับแผ่นดินไหวนอกประเทศ ที่มีขนาดมากกว่า 5.5 ขึ้นไป ได้ จำนวน 151 ครั้ง

lhqthongquahiepuoccamvukhihatnhan_NQHD

แผ่นดินไหวจากการกระทำของมนุษย์

มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิด การทำเหมือง สร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนใกล้รอยเลื่อน การทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร รวมถึงการเก็บขยะนิวเคลียร์ไว้ใต้ดิน เป็นต้น

  • การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งอาจพบปัญหาการเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากน้ำหนักของน้ำในเขื่อนกระตุ้นให้เกิดการปลดปล่อยพลังงาน ทำให้สภาวะความเครียดของแรงในบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งทำให้แรงดันของน้ำเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดพลังงานต้านทานที่สะสมตัวในชั้นหิน เรียกแผ่นดินไหวลักษณะนี้ว่า แผ่นดินไหวท้องถิ่น ส่วนมากจะมีศูนย์กลางอยู่ที่ระดับความลึก 5 – 10 กิโลเมตร
  • การทำเหมืองในระดับลึก ซึ่งในการทำเหมืองจะมีการระเบิดหิน ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้นได้
  • การสูบน้ำใต้ดิน การสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากเกินไป รวมถึงการสูบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้ชั้นหินที่รองรับเกิดการเคลื่อนตัวได้
  • การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนจากการทดลองระเบิด ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดผลกระทบต่อชั้นหินที่อยู่ใต้เปลือกโลก